รู้หรือไม่ ประเภทรถบรรทุก 9 ประเภท ที่ถูกต้องตามกฎหมายมีอะไรบ้าง

รู้หรือไม่ ประเภทรถบรรทุก 9 ประเภท ที่ถูกต้องตามกฎหมายมีอะไรบ้าง

เมื่อพูดถึงรถบรรทุกหลายๆท่านอาจไม่ทราบว่า รถบรรทุกที่ถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกในประเทศไทยนั้นมีอะไรบ้าง หลายๆท่านอาจเห็นได้ทั่วไปบนท้องถนนหรือเคยใช้งานรถประเภทนั้น เช่น รถพ่วง รถบรรทุก รถเทรลเลอร์ และอื่นๆ แต่ประเภทที่ถูกต้องตามกฏหมายตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ.2524) ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 นั้นมีอยู่ 9 ประเภท จะมีรถอะไรบ้าง ทาง LCS จะมาบอกประเภทของรถบรรทุก 9 ประเภทว่ามีอะไรบ้างดังต่อไปนี้

ทำไมรถบรรทุกตามกฏหมายในประเทศไทยถึงมีหลายประเภท

ในประเทศไทยมีอุตสาหกรรมที่ต้องใช้รถบรรทุกเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจอยู่หลายอุตสาหกรรม แต่ละอุตสาหกรรมก็ใช้ประเภทรถบรรทุกที่แตกต่างกันออกไป เนื่องจากการใช้รถบรรทุกให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมนั้นๆเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะหากใช้รถบรรทุกผิดประเภทอาจส่งผลต่อสินค้าที่บรรทุกไดนั่นเอง ดังนั้นทางกฏหมายขนส่งจึงได้มีข้อกำหนดประเภท 9 รถบรรทุกตามกฏหมายที่เหมาะสมตามอุตสาหกรรมในประเทศไทยนั่นเอง

 

431b0bff-645c-4575-ad53-9b67b14c9846-Blog-ประเภทรถบรรทุก -02.jpg

ประเภทที่ 1 : รถกระบะบรรทุก

“รถกระบะบรรทุก” เรียกได้ว่าเป็นน้องเล็กสุดสำหรับการใช้บรรทุกสินค้าต่างๆที่ถูกต้องตามกฏมาย สามารถบรรทุกสินค้าในอุตสาหกรรมได้หลายประเภท เช่น ข้าว หิน ดิน ทราย หรือสินค้าทางการเกษตรต่างๆ ซึ่งเป็นการบรรทุกในอุตสาหกรรมขนาดเล็ก

 

8eaa46a5-45ff-4cd5-93b8-18c3ed0eac7c-Blog-ประเภทรถบรรทุก -03.jpg

ประเภทที่ 2 : รถตู้บรรทุก

“รถตู้บรรทุก” เป็นรถบรรทุกที่ลักษณะที่มีขนาดใหญ่กว่ารถกระบะขึ้นมาอีกระดับ ที่จะมีลักษณะเป็นตู้ทึบ และมีหลังคาและตัวถังที่บรรทุกอยู่ระหว่างผู้ขับ และเป็นผู้ขับแบบตอนเดียว เน้นใช้ในการขนส่งหรือบรรทุกสินค้าแบบตู้แห้ง หรือ ตู้แช่เย็น เช่น สินค้าที่เป็นชนิดอบแห้ง เนื้อสัตว์แช่แข็ง หรือสินค้าที่ควบคุมอุณหภูมิระหว่างจัดส่ง

210aed80-d1f4-49f4-bcbe-69e437747d43-Blog-ประเภทรถบรรทุก -04.jpg

ประเภทที่ 3 : รถบรรทุกของเหลว

“รถบรรทุกของเหลว” เป็นรถที่ใช้บรรทุกของเหลวต่างๆ ที่บรรทุกของเหลวตามความเหมาะสมและมีระบบความปลอดภัยสูง

7fe9add7-4f38-4cce-852f-809f01565e1d-Blog-ประเภทรถบรรทุก -05.jpg

ประเภทที่ 4 : รถบรรทุกวัสดุอันตราย

“รถบรรทุกวัสดุอันตราย” เป็นรถบรรทุกที่ใช้ในการบรรทุกของเหลวเหมือนกับรถบรรทุกของเหลว แต่จะมีความอันตรายกว่า ซึ่งจะเป็นลักษณะของแทงก์ที่มีความหนาแน่นสูงเพื่อป้องกันการรั่วไหลหรือซึมของสิ่งที่บรรทุก เช่น น้ำมัน แก๊ส สารเคมี หรือสิ่งของที่ก่อให้เกิดอันตรายจากการระเบิดอย่างรุนแรงทันทีทันใด

301a1e50-d427-45d1-bb34-33c8226715a0-Blog-ประเภทรถบรรทุก -06.jpg

ประเภทที่ 5 : รถบรรทุกเฉพาะกิจ

“รถบรรทุกเฉพาะกิจ” เป็นรถบรรทุกที่ถูกออกแบบให้มีลักษณะที่แตกต่างที่มีไว้ใช้บรรทุกสิ่งต่างๆแบบเฉพาะกิจและมีความพิเศษ เช่น รถบรรทุก เครื่องดื่ม รถผสมปูนซีเมนต์ รถขยะมูลฝอย รถราดยาง หรือ รถเครื่องทุ่นแรงต่างๆ

12f70671-33ee-4e74-8b3d-abc810285b7d-Blog-ประเภทรถบรรทุก -07.jpg

ประเภทที่ 6 : รถพ่วง
“รถพ่วง” เป็นรถที่ไม่สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง ต้องอาศัยจากหัวรถในการลากจูงเพื่อขับเคลื่อน และท้ายรถจะถูกเรียกว่ารถพ่วงที่มีเพลาในตัวเอง และต่อพ่วงด้วยอุปกรณ์ลากจูงซึ่งถูกนำไปใช้บรรทุกในอุตสหากรรมสินค้าที่หลากหลาย เช่น บรรทุกดิน บรรทุกอ้อย บรรทุกมันสําปะหลัง และสินค้าทางการเกษตรต่างๆ

6053fbaa-786a-48f6-9a16-fad972b261a5-Blog-ประเภทรถบรรทุก -08.jpg

ประเภทที่ 7 : รถกึ่งพ่วง
“รถกึ่งพ่วง” เป็นรถบรรทุกสินค้าที่ไม่มีแรงขับเคลื่อนในตัวเอง และไม่สามารถแยกจากกันได้ระหว่างส่วนหัวเทรลเลอร์และส่วนท้ายที่เป็นรถพ่วงต้องรับน้ำหนักร่วมกัน 

9624e15a-0626-4fc8-903d-e85ee880efe3-Blog-ประเภทรถบรรทุก -09.jpg

ประเภทที่ 8 : รถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาว
“รถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาว” เป็นรถบรรทุกสินค้าที่เป็นโครงวัสดุโลหะที่ไว้บรรจุและรองรับสินค้าได้มากที่สุดในบรรดาประเภทรถบรรทุกตามกฎหมายทั้งหมด

c9a436ea-4a3a-4d6b-adcc-4a0d0c19fb6b-Blog-ประเภทรถบรรทุก -10.jpg

ประเภทที่ 9 : รถลากจูง

“รถลากจูง” เป็นรถที่ทำหน้าที่ในการลากจูงรถประเภทอื่น ในกรณีรถคันอื่นมีปัญหาจนไม่สามารถขับเคลื่อนใช้งานได้หรือชำรุด หรือใช้ในการลากจูง รถพ่วง รถกึ่งพ่วง ที่ไม่สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองได้ เป็นรถที่มีหน้าที่ช่วยเหลือรถคันอื่นๆ

 

จากข้อมูลของรถบรรทุกในประเทศไทยนั้นหลายๆท่านอาจจะเคยเห็นอยู่บ่อยครั้ง แต่อาจไม่ทราบว่ารถบรรทุกชนิดไหนบ้างที่ถูกต้องตามกฏหมายตามกฎกระทรวง ซึ่งในปัจจุบันการใช้รถบรรทุกแบบผิดประเภทและแตกต่างจากที่กฏหมายกำหนดนั้นยังมีให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งอาจเสี่ยงในการถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย ซึ่งทาง LCS หวังว่าข้อมูลในส่วนนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้รถบรรทุกทุกท่านเพื่อให้ผู้ใช้รถบรรทุกได้ใช้รถอย่างถูกประเภทและถูกต้องตามกฏหมาย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีการชำระเงิน

lcs visa logo
lcs mastercard logo
lcs kasikorn bank logo
lcs scb logo
lcs kma bank logo
lcs tmb bank logo

จัดส่งสินค้าโดย

lcs kerry logo
lcs j&t logo
lcs scg logo
lcs nim express logo
lcs flash express logo
lcs delivery logo

เชื่อมต่อกับเรา

lcs facebook logolcs line logolcs youtube logo

© 2021 lcs-online.com. All rights reserved.

2021 - บริษัท บิทแมกซ์ อินเตอร์คอร์ป จำกัด